Google

Tuesday, September 11, 2007

การทำงานของระบบคัมบัง (KANBAN)

KANBAN have been developing by TOYOTA late 1940. KANBAN has been using for quality developing and material replenishment. It is a part of JIT (Just-In-Time) through the process flow at manufacturing.

KANBAN means “card” or “signal” in which it is able to tell the process flow status and designed as using it for controlling through the operations. Whenever there is a use of material - - KANBAN signals for replenishment. All signals responds the right requirements and right replenishments between the assembly team and material team.

There are several types of KANBAN signals:
- KANBAN card
- Look-see
- E-mails
- Electronic KANBAN

KANBAN can be used within the organisation or with others.
1. Internal KANBAN : there is a use of KANBAN card as the signal for material replenishment from warehouse to the assembly line.
2. External KANBAN : the same card that was carried from the assembly line will be sent out to supplier as the signal for replenishment from supplier to warehouse.

Here are the important details given on a KANBAN card.
1. In order to encourage JIT (Just-In-Time) manufacturing - - it is a must that there are always the safety stock of the materials available for any pulls.
- At the manufacture, there are always the safety stock of materials for any replenishments required via KANBAN cards from assembly line.
- At suppliers, there are always the safety stock of materials for any replenishments required via KANBAN cards from manufacture.

2. KANBAN card is very important, it’s as a note used to buy the stuffs in which they’re required.
- Internal: assembly line is a warehouse’s customer.
- External: warehouse is a supplier’s customer.
What are the details in card?
(1). Code and material description
(2). Supplier (this distinguishs the right supplier when the same materials are produced by different suppliers).
(3). Quantity (it is equivalent to the note value).
- In order to trace the component more easier and to define more precise level of the safety stock - - the quantity is a pack size in which is always standard.
(4). KANBAN card number
- The numbers which are issued for each component are the result from the following formula. (Safety stock quantity + leadtime to receive the new lot)/standard packsize.
- It is very important to ensure no lost of card - - otherwise, there is a risk for material shortage because there is no card represents the requirement in the right leadtime.

Profits of running KANBAN system
1. Improves the process flow between suppliers, manufacturing warehouse and the assembly line.
2. Place more control at the operation level.
3. Minimizes risk of having shortage of materials.
4. Reduces inventory value, improves the cash flow.



คัมบัง (KANBAN)

คัมบัง (KANBAN) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทโตโยต้าเมื่อปลายปี ค.ศ. 1940 (ปลาย พ.ศ. 2483)เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพ การเติมเต็มสินค้า ในสายการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT : Just-In-Time) ควบคุมการไหลของงาน

คัมบัง (KANBAN) หมายถึง บัตร แผ่นป้ายหรือสัญลักษณ์ที่สามารถบอกถึงการไหลของงาน Kanban ได้ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงาน เมื่อมีการนำไปใช้เกิดขึ้น ระบบจะส่งสัญญาณการเติมเต็มไปยังแหล่งจัดส่ง เพื่อให้ทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดส่งมีการตอบสนองต่อการนำไปใช้จริงๆ อย่างสม่ำเสมอ

มีหลากหลายวิธีในการเลือกใช้สัญญาณ KANBAN ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติใช้ เช่น
- การ์ดคัมบัง (KANBAN card)
- การมองเห็น (Look-see)
- การส่งอีเมล (E-mails)
- คัมบังแบบอิเลคทรอนิกค์ (Electronic KANBAN)


รูปแบบการดำเนินงานระบบคัมบังประยุกต์ใช้ได้ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร กล่าวคือ
1. ภายในองค์กรการประกอบรถยนต์ การ์ดคัมบัง นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียกวัตถุดิบทดแทนจากคลังสินค้าไปยังหน่วยงานการผลิต
2. การ์ดคัมบังที่ฝ่ายผลิตนำมาแลกวัตถุดิบทดแทน ก็จะนำส่งต่อไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนวัตถุดิบเพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความต้องการวัตถุดิบทดแทนที่คลังสินค้าของโรงงานประกอบรถยนต์

ส่วนประกอบสำคัญในการทำระบบคัมบังแบบใช้การ์ด
1. เนื่องจากระบบคัมบังสนับสนุนการทำงานแบบทันเวลาพอดี (JIT : Just-In-Time)จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวัตถุดิบเตรียมพร้อมอยู่เสมอ(วัตถุดิบคงเหลือเพื่อความปลอดภัย - - Safety Stock)รอถูกเรียกเพื่อทดแทน
- ที่คลังสินค้าของตัวโรงงานผลิตรถยนต์จะต้องมีวัตถุดิบคงเหลือเสมอเพื่อพร้อมจ่ายทดแทนเข้าสายผลิตเมื่อใดก็ตามที่ถูกร้องขอผ่านการ์ดคัมบัง
- ที่ suppliers ผู้ผลิจวัตถุดิบจะต้องมีวัตถุดิบคงเหลือเสมอเพื่อพร้อมจ่ายทดแทนไปยังคลังสินค้าเมื่อใดก็ตามที่ถูกร้องขอผ่านการ์ดคัมบัง
2. การ์ดคัมบัง เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเปรียบเสมือนธนบัตรที่ลูกค้านำไปแลกซื้อสินค้ามาทดแทนจำนวนที่หมดไป
- สายผลิตเป็นลูกค้าของฝ่ายคลังสินค้า
- ฝ่ายคลังสินค้าเป็นลูกค้าของ suppliers ผู้ผลิตวัตถุดิบ
รายละเอียดจำเป็นที่ต้องระบุบนการ์ดคัมบัง
1. ชื่อวัตถุดิบ
2. ชื่อผู้ผลิตวัตถุดิบ (ช่วยป้องกันปัญหาสับสนเมื่อมีผู้ผลิตมากกว่าหนึ่งที่ผลิตและส่งวัตถุดิบนั้นๆ)
3. จำนวนชิ้นงาน (เปรียบเสมือนมูลค่าของธนบัตร)
- เพื่อง่ายต่อการติดตาม และง่ายต่อการคำนวณหา Safety Stock จำนวนบรรจุของชิ้นงานต่อกล่องควรจะเป็นมาตรฐาน
4. เลขที่ของการ์ด เพื่อใช้ในการติดตาม
- จำนวนการ์ดที่ถูกพิมพ์ออกมาสามารถคำนวณได้จาก (จำนวน Safety Stock ที่จัดเก็บ + leadtime ในการรับของงวดใหม่)/จำนวนบรรจุวัตถุดิบนั้นต่อกล่อง
- จะเห็นได้ว่าการ์ดคัมบังมีความสำคัญมากเมื่อเกิดการสูญหาย ย่อมเป็นการเสี่ยงที่จะไม่ได้รับของทดแทนทันตาม leadtime ที่ได้วางไว้เนื่องจากไมมีการ์ดแลกวัตถุดิบเข้ามาใหม่

ประโยชน์ของการทำงานระบบคัมบัง
1. ปรับปรุงการไหลเวียนวัตถุดิบระหว่าง supplier คลังสินค้า และหน่วยงานผลิต
2. เพิ่มศักยภาพการควบคุมการไหลเวียนวัตถุดิบไปยังหน่วยงานที่ใช้วัตถุดิบนั้นโดยตรง
3. ลดปัญหาการส่งวัตถุดิบล่าช้า หรือขาดส่งวัตถุดิบ เพราะมี leadtime ที่แน่นอนในการนำส่งวัตถุดิบ
4. ลดจำนวนสินค้าคงคลังที่จัดเก็บ ไม่แบกรับภาระจัดเก็บวัตถุดิบเกินความต้องการใช้